นิยามระบบ ERP และระบบงานที่ ITAP สนับสนุน
เนื่องจากระบบ ERP หรือ Enterprise Resource Planning เป็นระบบใหญ่ที่ครอบคลุมกระบวนการทํางานของทั้งองค์กร ตั้งแต่ ซื้อ ขาย คลัง ผลิต บัญชี การเงิน จัดส่ง และบุคคล ซึ่งผู้ประกอบการสามารถขอรับการสนับสนุนโครงการด้าน ERP กับ ITAP ได้ในระบบงานใดระบบงานหนึ่ง หรือทั้งหมด ดังรายการด้านล่างนี้

1) ระบบบริหารการผลิต (Manufacturing Resource Planning : MRP)
2) ระบบบริหารคลังสินค้า (Warehouse Management System : WMS)
3) ระบบบริหารสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ (Inventory Management)
4) ระบบบริหารการขาย (Sale Management)
5) ระบบบริหารการจัดซื้อ (Purchasing Management)
6) ระบบบัญชีการเงิน (Financial Accounting)
7) ระบบบัญชีลูกหนี้ (Account Receivable)
8) ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (Account Payable)
9) ระบบบริหารจัดการพนักงาน (Human Resource Management : HRM)

นอกจากนี้ยังมีโมดูลต่อขยายของ ERP อีกหลายระบบ เช่น

10) ระบบขายหน้าร้าน (POS : Point Of Sale)
11) ระบบบริหารการขนส่ง Logistic Management)
12) ระบบสนับสนุนการคาดคะเน (Forecasting)
13) ระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management : CRM)
14) ระบบรายงานอัจฉริยะ (Business Intelligence : BI) เป็นต้น

หมวดค่าใช้จ่าย
หมวดค่าใช้จ่ายที่ ITAP ให้การสนับสนุน ได้แก่
✔ ค่า Consult
✔ ค่า Training
✔ ค่า Customize
✔ ค่า Implement
✔ ค่าติดตั้งระบบ
✔ ค่าทดสอบระบบ

หมวดค่าใช้จ่ายที่ ITAP ไม่ให้การสนับสนุน ได้แก่
✘ ค่าออกแบบและพัฒนาระบบ ERP ใหม่
✘ ค่า Software License
✘ ค่าออกแบบ UX/UI
✘ ค่าเช่าใช้ระบบ Cloud และระบบ Network
✘ ค่าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
✘ ค่า Maintenance

เงื่อนไขการสนับสนุนโครงการ ERP
ITAP แบ่งการสนับสนุนโครงการ ERP เป็น 3 โครงการ ได้แก่

1. โครงการเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาระบบ ERP (ERP Ready)

ITAP สนับสนุนค่าใช้จ่ายไม่เกินร้อยละ 50 และสนับสนุน ไม่เกิน 150,000 บาท ต่อโครงการ ในหมวดค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญ

● ITAP ขอสงวนสิทธิ์ไม่สนับสนุนผู้ประกอบการที่ขอทําโครงการ Implement ERP โดยไม่ทําโครงการ ERP Ready ก่อน

● โครงการ ERP Ready สามารถดําเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญที่ ไม่มีซอฟต์แวร์ ERP ของตนเองก็ได้ หรือดำเนินการโดย Implementerที่มีซอฟต์แวร์ ERP ของตนเองก็ได้

ซึ่งผู้เชี่ยวชาญต้องมีคุณสมบัติและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ ITAP กำหนด

คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีซอฟต์แวร์ ERP
1) เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการให้คําปรึกษาด้านการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้แก่ธุรกิจอุตสาหกรรมมาแล้ว อย่างน้อย 5 บริษัท
2) ผู้เชี่ยวชาญต้องไม่มีซอฟต์แวร์ ERP ของตนเอง หรือเป็นผู้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในการแนะนํา ERP เจ้าใดๆ ให้กับผู้ประกอบการ
3) ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติเบื้องต้นของการเป็นผู้เชี่ยวชาญ ITAP เรียบร้อยแล้ว (พิจารณาจากวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน ที่ระบุไว้ใน CV)
คุณสมบัติของ Implementer ที่มี ERP ของตนเอง
1) หัวหน้าทีม Implement ต้องมีประสบการณ์ Implement ระบบ ERP ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมจนประสบความสําเร็จมาแล้ว อย่างน้อย 5 บริษัท
2) ผู้เชี่ยวชาญมี ERP ของตนเอง และมีความพร้อมของทีม Implement
3) ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติเบื้องต้นของการเป็นผู้เชี่ยวชาญ ITAP เรียบร้อยแล้ว (พิจารณาจากวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน ที่ระบุไว้ใน CV)

ขอบเขตความรับผิดชอบในโครงการ ERP Ready กรณีดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีซอฟต์แวร์ ERP ขอบเขตความรับผิดชอบในโครงการ ERP Ready
กรณีดำเนินการโดย Implementer ที่มี ERP ของตนเอง
1) ศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการทำงานของบริษัท เพื่อให้ได้มาซึ่ง Business Process Workflow ที่จะใช้งานร่วมกับ Standrad ERP ในอนาคต 1) ศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการทำงานของบริษัท เพื่อให้ได้มาซึ่ง Business Process Workflow ที่จะใช้งานร่วมกับระบบ ERP ของตน
2) อบรมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานทุกระดับ เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมและความเข้าใจของพนักงานตอนนำระบบเข้ามาประยุกต์ใช้ 2) อมรบสร้างความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานทุกระดับ เพื่อลดแรงต้านของพนักงานตอนนำระบบเข้ามาประยุกต์ใช้
3) จัดทำข้อกำหนด คุณสมบัติ หรือฟังก์ชั่นที่จำเป็น เพื่อใช้ในการคัดเลือกระบบ ERP ที่เหมาะสมกับธุรกิจ 3) จัดทำรายงาน GAP Analysis ที่แสดงการออบแบบในแต่ละโมดูลงาน ว่าความต้องการส่วนใดที่รองรับได้โดย มาตรฐานของโปรแกรม (Standrad Function) และความต้องการส่วนใดต้องปรับแก้ไขโปรแกรมเพิ่มเติม (Customize) เพื่อให้รองรับกับความต้องการ
4) ให้คำแนะนำเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการติดตั้งระบบ ERP เช่น การเตรียม Master Data, การปรับ BOM, ปรับ Process, ปรับโครงสร้างต้นทุนให้เหมาะสม เป็นต้น 4) จัดส่งรายงานข้างต้น พร้อมประมาณการค่าใช้จ่ายในเฟส Implement รวมทั้งประเมินระยะเวลาการ Implement ให้ผู้ประกอบการและ ITAP
5) จะส่งรายงานข้างต้นให้ผู้ประกอบการและ ITAP

2. โครงการประยุกต์ใช้ระบบ ERP (Implement ERP)

ITAP สนับสนุนค่าใช้จ่ายไม่เกินร้อยละ 50 และสนับสนุน ไม่เกิน 300,000 บาท ต่อโครงการ ในหมวดค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญ
● โครงการ Implement ERP คือ การประยุกต์ใช้ระบบ ERP/MRP/WMS/หรือโมดูลอื่นๆ ดังระบุในนิยามข้างต้น เพื่อใช้เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้บริหารจัดการองค์กรอย่างเหมาะสม ตรงกับลักษณะธุรกิจและความต้องการของผู้ประกอบการ ช่วยให้มีข้อมูลในการตัดสินใจดำเนินธุรกิจที่ดีขึ้น
● ITAP เน้นสนับสนุนการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ ERP สําเร็จรูป หรือ Service Platform ที่มีให้บริการอยู่แล้ว ดังนั้น งบประมาณที่สนับสนุนจึงเน้นไปที่ การ Customize ระบบให้เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ และการ Implement ใช้งานระบบ โดยไม่สนับสนุนการพัฒนาระบบ ERP ขึ้นมาใหม่ (ไม่สนับสนุน ERP Development)
● ผู้ประกอบการสามารถจ้างที่ปรึกษาฝั่งบริษัท เพื่อควบคุมดูแลการทํางานของ Implementer ได้ โดย ITAP สนับสนุนค่าตอบแทนที่ปรึกษาฝั่งบริษัท รวมอยู่ในค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญในโครงการ Implement ERP
● กรณี Implementer เป็นบริษัทที่ได้ขึ้นทะเบียน ERP Software Vendor กับทาง สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) เรียบร้อยแล้ว ทาง ITAP จะพิจารณาง่ายขึ้น เนื่องจากมีระบบควบคุมคุณภาพ ERP Software Vendor ร่วมกัน

3. โครงการต่อยอดระบบ ERP (Extended ERP)
● โครงการ Extended ERP หมายถึงลักษณะโครงการอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้

1) การพัฒนา Application ต่อยอดจากระบบ ERP เดิม หรือ
2) การเขียน API เพื่อเชื่อมต่อระบบ ERP เข้ากับระบบงานอื่น หรือ
3) การ Implement โมดูลต่อขยายของระบบ ERP

● กรณีที่ผู้ประกอบการเคยขอรับการสนับสนุนโครงการ Implement ERP กับ ITAP แล้ว และต้องการขอรับการสนับสนุนด้าน ERP อีกครั้ง จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้

1) จะต้องมีระยะห่างของโครงการอย่างน้อย 2 ปี นับจากวันที่สิ้นสุดโครงการครั้งก่อน
2) ITAP สนับสนุนค่าใช้จ่ายไม่เกินร้อยละ 50 และสนับสนุน ไม่เกิน 300,000 บาท ต่อโครงการ (ไม่สนับสนุนโมดูลเดิมที่เคยขอรับการสนับสนุนไปแล้ว)